วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเขียน Portfolio (แฟ้มสะสมผลงาน)

การเขียน Portfolio (แฟ้มสะสมผลงาน) 
เราควรมาทำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ Portfolio ที่สมบูณณ์ควรมีรายละเอียดอย่างไร 
ในพอร์ตโฟลิโอของควรมีข้อมูลต่างๆต่อไปนี้
- กิจกรรมที่เคยทำตั้งแต่ตอนที่เป็นนักเรียน หรือนักศึกษา ผลงาน เกียรติบัตรที่เคยไดัรับ เช่นเคยเป็นคณะกรรมการนักเรียน เคยร่วมแข่งขันกีฬาฯ เคยร่วมจัดโครงงาน คือเคยทำอะไร เมื่อไร ก็นำมาประกอบกัน ซึ่งไม่จำเป็นต้องใส่กิจกรรมทุกอย่างที่เข้าร่วม เพราะบางทีถ้าใส่มากเกินไปจะทำให้ผู้อ่าน ดูไม่ออกเลยว่าเจ้าของผลงาานสนใจอะไรกันแน่
- ในส่วนนี้อาจใส่ความรู้สึกของคนอื่นที่มีต่อกิจกรรมที่เราทำ หรือ ความรู้สึกที่มีต่อตัวเราในการทำกิจกรรมนั้นๆ 
- นอกจากนั้นควรบันทึกเรื่องของความภูมิใจ และรางวัลที่เคยได้รับในกาณทำกิจกรรม หรือการเรียน และถึงแม้ไม่ได้รับรางวัลใดๆแต่การเข้าร่วมประกวดแข่งขันต่างๆก็บ่งบอกถึงความสนใจของเรา นักเรียนก็สามารถบันทึกได้เช่นกัน

ในเรื่องนี้ขอยกตัวอย่างในการพิจารณา เปรียบเทียบพอร์ตโฟลิโอของบุคคลสองคน
- พอร์ต ที่หนึ่ง เข้าร่วมประกวดถ่ายภาพและได้รับรางวัล จากการประกวด มีหลักฐานรางวัล แสดงไว้ 
- พอร์ตที่สอง ถึงแม้ไม่เคยรับรางวัลแต่ส่งเข้าร่วมประกวดมากมาย พร้อมมีรูปงานแสดงภาพถ่ายต่างๆที่ตนเองเข้าร่วมประกวด

ผู้พิจารณาคงพิจารณาว่า เจ้าของพอร์ตที่สองน่าจะเป็นผู้ที่เหมาะสมกว่า ถ้าต้องคัดเอาเพียงคนเดียวเพื่อเข้าเรียนสาขาการถ่ายภาพ บางทีแค่การไปร่วมงาน ไปดูงานนิทรรศการ ที่เราสนใจก็นำมาบันทึกได้ เพราะพอร์ตคือสิ่งที่จะบ่งบอกความสนใจในตัวเรา บางคนสนใจเรื่องวิชาการ ก็เอาเกรด เอารายงานที่ทำระหว่างเรียน เอาเรื่องราวของการทำโครงงานด้านวิชาการต่างๆ ที่เคยทำมาแสดง มาสรุป หรือนำภาพถ่ายของตนเองในงานนั้นๆมาบันทึกไว้ในพอร์ต ก็ดูน่าสนใจครับ 
คนที่สนใจด้านสังคมก็เอากิจกรรม ที่ทำ บางทีอาจให้เพื่อนเขียนถึงเราก็ได้ว่าเราดีตรงไหน ประทับใจอะไรเรา ให้ครู พ่อแม่ หรือคนที่เรารู้จัก เขียนถึงเราได้ทั้งนั้นไม่ผิดกติกามีนักเรียนถามว่า การบันทึกพอร์ตโฟลิโอต้องมีหลักฐานหรือไม่ 
ถ้ามีก็ดี ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร เพราะถ้าผู้อ่านสนใจเขาก็มาถามเราต่อได้ เช่นถ้าเราเคยร่วมกิจกรรมปลูกป่า แต่เราไม่มีรูป เราก็อาจเขียนความประทับใจในงานนั้น โดยไม่มีหลักฐาน ไม่มีคนเซ็นรับรอง ก็ไม่น่าจะมีปัญหาใดๆ
นักเรียนที่สนใจด้านเทคโนโลยี อาจทำพอร์ตแบบดิจิตอล คือทำเป็น เวป หรือโปรแกรม นำเสนอ ก็ดูน่าสนใจ ใส่ภาพ เสียง จะเป็นการบ่งบอกความสนใจของเราได้อย่างดี
คำถามที่ว่าจะใช้กระดาษอย่างไร ความหนาเท่าไร หรือ จำนวนกี่หน้า นั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และความต้องการนำเสนอของเจ้าของผลงานเอง เพราะพอร์ตที่แสดงความเป็นตัวเราได้นั่นคือพอร์ตโฟลิโอที่ดี เคยเห็นพอร์ตของนักเรียนที่ สนใจด้านศิลปะ ทำออกมาไม่กี่หน้าแต่ออกแบบน่าสนใจ มีทั้งภาพกราฟฟิค และภาพถ่ายที่ตั้งใจทำอย่างดี อย่างนี้เอาไปสมัครเข้าเรียนต่อด้านศิลปะ การออกแบบสื่อ ก็น่าจะประสบความสำเร็จ
การที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งเริ่มมีการกำหนดให้ พอร์ตโฟลิโอ เป็นส่วนหนึ่งของการคัดนักเรียนเข้าเรียนต่อ หรือเข้าสมัครงาน เป็นเรื่องที่น่าจะให้ความสำคัญ น่าจะมีผลดีกว่าการคัดนักเรียนเข้าศึกษา หรือคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน นอกเหนือจากการสอบเพียงอย่างเดียว 
บางคนไม่เคยคิดเคยทำประโยชน์อะไรให้สังคมส่วนรวมเลย แต่สอบเข้าคณะส้งคมสงเคราะห์ อย่างนี้จะหวังให้จบมาทำงานด้านนี้ คงยาก
การคัดเลือกโดยใช้พอร์ตโฟลิโอเป็นส่วนประกอบจึงน่าจะช่วยให้มหาวิทยาลัยได้คัดเอาผู้ที่มีความสนใจ ในสาขาวิชานั้นๆ เข้าไปเรียน หรือคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน ซึ่งจะทำให้นักเรียนเรียนอย่างมีความสุข และประสบความสำเร็จในการเรียน การเรียนต่อ หรือ การทำงานในอนาคต



องค์ประกอบหลักๆ ของ Portfolio ที่สมบูรณ์ 

1.หน้าปก
ควรออกแบบให้สะดุดตา แบบเห็นปุ๊บแล้วคนหยิบขึ้นมาอ่านปั๊บ ถ้าหน้าตาดีก็ใส่รูปตัวเองลงไป present ตัวเองเต็มที่ เข้าใจง่าย สรุปเนื้อหา และ มีรายละเอียดครบถ้วนคือ ของใคร ชั้นอะไร เรียนที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เหตุใด ฯลฯ (แต่ต้องเน้นส่วนที่เป็นตัวของเราที่สุด ทำออกมาให้เป็นตัวของตัวเอง)

2.ประวัติส่วนตัว
นำเสนอตัวเองเต็มที่เลย ประวัติทางด้านสถานศึกษา ถ้าจะให้ดี ขอแนะนำว่าให้ทำเป็น 2 ชุด คือ ส่วนที่เป็นภาษาไทย รวมไปถึงข้อมูลที่เป็น personal data และส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษนั่นเอง เพื่อแสดงความสามารถของตนให้แฟ้มดูน่าเชื่อถือมากขึ้น

3.ประวัติทางการศึกษา 
ให้เรียงลำดับจากการศึกษาที่น้อยสุด จนกระทั่งปัจจุบันและผลสรุปของผลการเรียนที่ได้ครั่งล่าสุดควรเน้นเป็นส่วนท้ายที่เห็นเด่นชัดที่สุด(อาจมีเอกสารรับรองผลการเรียนแนบมาด้วยก็ได้ จะดีมาก)

4.รางวัลและผลงานที่ได้รับ
เขียนในลักษณะเรียงลำดับการได้รับ จากปี พ.ศ.(ในส่วนนี้ไม่ขอแนะนำว่าต้องใส่เกียรติบัตรลงไป เพราะอาจทำให้แฟ้มดูไม่มีจุดเด่น เพราะมันเด่นหมด ควรไปเน้นข้อต่อไปดีกว่า)

5.รางวัลและผลงานที่ประทับใจ
เป็นผลงานหรือรางวัลที่ได้รับ และเกิดความภาคภูมิแบบสุดๆ รางวัลแบบนี้แหละที่เป็นรางวัลแห่งชีวิตข้าพเจ้า (ควรใส่หลักฐานลงไปด้วยอาจมีรูปถ่ายประกอบจะดีมาก)

6.กิจกรรมที่ทำในโรงเรียน
เช่นเป็นประธานนักเรียน กิจกรรมในชมรม หรืออย่างอื่นใส่เพื่อให้รู้ว่าเรามีประสบการณ์จากการทำงาน หรือตรงส่วนนี้จะใช้เป็นงานพิเศษที่กำลังทำก็ได้ หากเรียนไปด้วยทำงานไปด้วยจะทำให้ผลงานมีคุณค่ามากขึ้น คนหยิบขึ้นมาอ่านจะเห็นคุณค่าของเราตรงนี้ อาจมีเอกสารแสดงด้วยจะดีมากค่า)

7.ผลงานตัวอย่าง
คือ งานหรือรายงานที่คิดว่าภาคภูมิใจมากที่สุดจากการเรียนที่ผ่านมา เช่น โครงงานวิทยาศาสตร์ รายงาน การวิจัยต่างๆ อาจนำเสนอใน 5 รายวิชาหลัก เป็นต้นห

8.ความสามารถพิเศษต่างๆ 
ควรโชว์ในความสามารถพิเศษที่คนทั่วไปมีอยู่เป็นส่วนน้อยที่สามารถทำได้ หรือเป็นความสามารถพิเศษที่สามารถสอดคล้องกับคณะ ที่เราต้องการศึกษาต่อ หรือถ้าไม่มี ก็เป็นความสามารถพิเศษทั่วๆ ไป เช่น ร้องเพลง เล่นดนตรี หรือ กีฬา ฯลฯ
ในแต่ละหัวข้อถ้าหากมีการแสดงรูปถ่ายที่เกี่ยวข้องด้วยจะดีมากๆ ขอให้แฟ้มสะสมผลงานของเพื่อนๆ ออกมาน่ารักกันทุกคน

วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แนวข้อสอบ สถิติและข้อมูล ชุดที่ 2

1.  ข้อใดไม่ใช่ข้อมูลเชิงปริมาณ
     ก.  น้ำหนัก                                        ข.  จำนวนประชากร
     ค.  ยี่ห้อรถ                                         ง.  ระยะทาง
2.  โรงพยาบาลแห่งหนึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับกรุ๊ปเลือดของผู้ป่วย 50 คน ควรวัดค่ากลางของข้อมูลด้วยค่าใด
     ก.  ค่าเฉลี่ยเลขคณิต                        ข.  ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต
     ค.  ค่ามัธยฐาน                                  ง.  ค่าฐานนิยม
3.  กำหนดให้            
X
2
1
3
4
ความถี่ (fi)
7
5
6
2

     ข้อใดคือ   
     ก.  169                                                                                            ข.  389
     ค.  469                                                                                            ง.  569

จากตารางแจกแจงความถี่ต่อไปนี้  ใช้ตอบคำถามข้อ 4 - 5

คะแนน
ความถี่ (f)
10 – 19
8
20 – 29
6
30 – 39
9
40 – 49
12
50 – 59
4
60 – 69
5
70 – 79
6

4.  ค่าเฉลี่ยเลขคณิตจากตารางข้างต้นตรงกับข้อใด
     ก.  41.4                                         ข.  44.5
     ค.  47.1                                         ง.  49.9 
5.  ค่ามัธยฐานจากตารางข้างต้นตรงกับข้อใด
     ก.  39.5                                         ข.  41.17
     ค.  49.5                                         ง.  51.17
6.  จากการสำรวจสีผิวของนักท่องเที่ยวบนหาดป่าตอง  จำนวน  20  คนเป็นดังนี้   
ขาว       ดำ     ดำแดง    เหลือง   ขาว    เหลือง  ดำแดง   ดำ     ขาว   ขาว
เหลือง   ดำ     เหลือง    ดำแดง   ขาว    ขาว       เหลือง  ขาว    ดำ     ขาว
     ข้อใดคือค่าฐานนิยม
     ก.  ขาว                                        ข.  ดำ
     ค.  เหลือง                                    ง.  ดำแดง
7.  ถ้าข้อมูลชุดหนึ่งมีค่าเฉลี่ยเลขคณิต   28.5  ค่ามัธยฐาน  25.2 และค่าฐานนิยมเป็น  20.4   ข้อใดเป็น
     ลักษณะความสัมพันธ์แบบกราฟของค่ากลางข้างต้น
     ก.  ลักษณะโค้งเบ้ซ้าย               ข.  ลักษณะโค้งเบ้ขวา
     ค.  ลักษณะโค้งปกติ                   ง.  ไม่มีข้อถูก
8.  กำหนดข้อมูลดังตาราง

คะแนนสอบ

7
5
4
2
3
ความถี่
1
2
3
4
5

     ข้อใดคือค่าเฉลี่ยเลขคณิต
     ก.  3.0                                       ข. 3.47                                 
     ค. 3.65                                      ง.  3.85
9.  จากตารางคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ จำนวน  50 คน  ดังนี้
คะแนน
จำนวนนักเรียน
ความถี่สะสม
25 – 44
11
11
45 – 54
9
20
55 – 64
18
38
65 – 74
12
50

     ข้อใดคือ  ค่า ควอล์ไทล์ที่ 3
     ก.  54.5                                   ข.  64.22                                              
     ค.  65.22                                 ง.  70.22
10. ตารางต่อไปนี้เป็นตัวอย่างคะแนนสอบวัดวัดประสิทธิภาพการปฏิตบัติงานของพนักงานจำนวน 
50  คน
      โดยมีคะแนนเต็มเท่ากับ  40   
ช่วงคะแนน
ความถี่
10 - 14
5
15 - 19
8
20 - 24
17
25 - 29
10
30 - 34
6
35 - 39
4

     ข้อใดคือส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลชุดนี้
     ก.  6.81 คะแนน          ข.  6.88  คะแนน                                               
     ค.  46.44  คะแนน       ง.  47.33  คะแนน

แนวข้อสอบ เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น

 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1.  ข้อความใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง
   ก.   ฐานนิยมของข้อมูลชุดใดๆ อาจมีจำนวนมากกว่าหนึ่งค่าก็ได้                                         
   ข.   พิสัยของข้อมูลชุดใดๆ อาจจะมีค่ามากกว่าค่าที่มากที่สุดของข้อมูลชุดนั้นๆ ก็ได้
   ค.   การหาค่ากลางของข้อมูลโดยใช้ตัวกลางเรขาคณิต สามารถทำได้จากข้อมูลชุดใดๆ ก็ได้  
   ง.   ในการสร้างตารางแจกแจงความถี่ ความถี่ของแต่ละอันตรภาคชั้นไม่จำเป็นต้องมากกว่าศูนย์เสมอไป             
2.  กำหนดข้อมูลแสดงจำนวนนักโทษในเรือนจำแห่งหนึ่ง จำแนกตามระดับการศึกษาดังตาราง
ระดับการศึกษา
จำนวนนักโทษ (คน)
ไม่ได้เรียน
ประถมศึกษา
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
สูงกว่ามัธยมศึกษา
30
250
25
12
10

      การวัดค่ากลางของข้อมูลตามตารางข้างบนที่ถูกต้องควรใช้ค่าใดต่อไปนี้
      ก.   ค่าเฉลี่ยเลขคณิต                    ข.    มัธยฐาน                           
      ค.   ฐานนิยม                                  ง.    ถูกต้องทุกข้อ
ใช้ข้อมูลในตารางตอบคำถามข้อ 3-5

      ตารางที่กำหนดให้ต่อไปนี้แสดงส่วนสูงเป็นเซนติเมตรของเด็กอายุ 10 ขวบ จำนวน 100 คน

ความสูง (เซนติเมตร)
จำนวนความถี่สะสม
110-114
115-119
120-124
125-1259
130-134
135-139
140-144
8
20
35
58
81
93
100



3.  ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของความสูงของเด็กทั้งหมดเท่ากับข้อใดต่อไปนี้

      ก.   126.25 เซนติเมตร                         ข.    127.25 เซนติเมตร         

      ค.   127.75 เซนติเมตร                         ง.    128.75 เซนติเมตร
4.  มัธยฐานของส่วนสูงของเด็กทั้งหมดเท่ากับข้อใดต่อไปนี้
      ก.   127.76 เซนติเมตร                         ข.    128.33 เซนติเมตร         
      ค.   128.82 เซนติเมตร                         ง.    129.14 เซนติเมตร
5.  ข้อมูลชุดนี้มีค่าฐานนิยมโดยประมาณเท่ากับข้อใดต่อไปนี้
      ก.   23 เซนติเมตร                                 ข.    129.0 เซนติเมตร           
      ค.   129.5 เซนติเมตร                            ง.    มีฐานนิยมมากกว่า 1 ค่า
6.  ถ้าส่วนสูงของเด็ก 8 คน วัดเป็นเซนติเมตรได้ดังนี้ 110, 120, 110, 108, 112, 110, 112, 118  แล้ว  ข้อใดต่อไปนี้
      ถูกต้อง      
      ก.   ค่าเฉลี่ยเลขคณิตมากกว่ามัธยฐาน      ข.    ค่าเฉลี่ยเลขคณิตน้อยกว่ามัธยฐาน          
      ค.   ฐานนิยมมากกว่าค่าเฉลี่ยเลขคณิต      ง.    ฐานนิยมมากกว่ามัธยฐาน
7.  ข้อความใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง
    ก.   ข้อมูลที่เป็นกราฟไม่สามารถอ่านค่าเฉลี่ยเลขคณิตจากกราฟได้                                      
    ข.   ข้อมูลที่เป็นประเภทข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วัดค่ากลางได้ด้วยฐานนิยมเท่านั้น               
    ค.   ข้อมูลที่แจกแจงความถี่โดยใช้อันตรภาคชั้นที่มีช่วงเปิดจะหาค่ากลางไม่ได้เลย         
    ง.   ข้อมูลที่แจกแจงความถี่โดยใช้ความกว้างของแต่ละอันตรภาคชั้นไม่เท่ากัน ควรวัดค่ากลางด้วยมัธยฐาน
ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 8-10
      ความสูงของนักเรียนห้องหนึ่งจำนวน 30 คน หน่วยเป็นเซนติเมตร มีดังนี้
      176     164     168     161     165     182     174     170     169     168 
      164     154     177     132     185     166     135     149     157     155   
      165      174    181     176      146    156     159     168     172     179  

8.  ค่าของ  Q3- Q1
                        2                                                  เท่ากับข้อใดต่อไปนี้  

      ก.   8.175 เซนติเมตร       ข.    8.875 เซนติเมตร           

      ค.   17.25 เซนติเมตร       ง.    17.75 เซนติเมตร                                       
9.  นักเรียนที่มีความสูงเป็นเปอร์เซ็นไทล์ที่ 80 จะมีความสูงเท่าไร
      ก.   174.5 เซนติเมตร      ข.    175.0 เซนติเมตร           
      ค.   176.0 เซนติเมตร      ง.    176.5 เซนติเมตร
   10.  นักเรียนที่มีความสูงเป็นเดไซล์ที่ 8 สูงกว่านักเรียนที่มีความสูงเป็นเดไซล์ที่ 4 เท่ากับกี่เซนติเมตร
      ก.   12.6 เซนติเมตร         ข.    11.6 เซนติเมตร              
      ค.   10.4 เซนติเมตร         ง.    9.8 เซนติเมตร

แนวข้อสอบ เรื่อง สถิติและข้อมูล ชุดที่ 1


จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1.  สิ่งที่จำเป็นในการตัดสินใจได้แก่ข้อใดต่อไปนี้
     ก.  ความเชื่อ                       ข.   สามัญสำนึก            
     ค.  ประสบการณ์                 ง.   ข้อมูลและข่าวสาร  
2.  ข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วเรียกว่าอะไร
     ก.  สารสนเทศ                          ข.   ข่าวสาร                   
     ค.  สารสนเทศหรือข่าวสาร       ง.   ข่าวสารหรือข้อมูลสารสนเทศ
3.  ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของข้อมูลที่ดี
     ก.  ความครบถ้วนของข้อมูล      ข.   ความทันสมัยของข้อมูล
     ค.  ความเชื่อถือได้ของข้อมูล    ง.   เก็บรวบรวมได้ง่าย
4.  การเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุกหน่วยในประชากรเรียกว่าอะไร
     ก.  การสำรวจ                             ข.   การสำมะโน            
     ค.  การสำรวจด้วยตัวอย่าง         ง.   การสำรวจทะเบียนประวัติ
5.  ข้อมูลสถิติมีลักษณะดังข้อใดต่อไปนี้
     ก.  ข้อเท็จจริงที่ได้จากหน่วยเดียว                         
     ข.  ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจจำนวนมากๆ   
     ค.  ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลขแสดงจำนวนจากประชากร                                
    ง.  ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลขหรือไม่เป็นตัวเลขก็ได้เกี่ยวกับเรื่องที่เราสนใจ
6.  ข้อความใดต่อไปนี้กล่าวถึงข้อมูลเชิงปริมาณ
     ก.  สีของสมุดของนักเรียนในห้อง                         
     ข.  ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปค ในปี พ.ศ. 2535                      
     ค.  ปริมาณน้ำฝนที่ตกในแต่ละวันในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว                      
     ง.  จำนวนอุบัติเหตุรถยนต์ชนกันในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2535
7.  ในปี พ.ศ. 2533 มีผู้ก่อคดีอาชญากรรมในกรุงเทพมหานคร 48,538 ราย เป็นคดีอุกฉกรรจ์ 6,837 ราย คิดเป็นร้อยละ   14.1 ของคดีอาชญากรรมทั้งสิ้น  ข้อความดังกล่าวจัดว่าเป็นอะไร
     ก.  ทะเบียนประวัติ                        ข.   แฟ้มอาชญากรรม          
     ค.  ข่าวสาร                                    ง.   ข้อมูลดิบ
8.   ข้อความใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง
  ก. จำนวนเงินที่นักเรียนในห้องหนึ่งมีอยู่ในวันหนึ่งเป็นข้อมูลสถิติที่เป็นตัวเลข                       
  ข. การสำมะโนเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เราสนใจจากทุกหน่วย ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง          
  ค. อาชีพของผู้ปกครองของนักเรียนคนหนึ่งในห้องเรียนเป็นข้อมูลสถิติที่ไม่เป็นตัวเลข          
  ง. การสำรวจด้วยตัวอย่างเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องการจากส่วนหนึ่งของประชากร
9.   ข้อความใดต่อไปนี้ไม่เป็นข้อมูลสถิติ
   ก.  ค่าใช้จ่ายรายวันของนายสุชัยในเดือนหนึ่ง    
   ข.  นายสมชัยวิ่ง 100 เมตร ในเวลา 10.9 วินาที   
   ค.  ผลการแข่งขันฟุตบอลของโรงเรียนแห่งหนึ่งเมื่อปีที่แล้วมีการแข่งขันทั้งหมด 7 ครั้ง          
   ง.  น้ำหนักตัวของนักมวยคนหนึ่งเป็นรายวันในเวลา 10 วัน ก่อนการชกจนถึงวันชก
10.  ข้อความใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้อง
       ก.  เราประมาณค่าสถิติจากตัวอย่าง                    
       ข.  พารามิเตอร์หมายถึงตัวเลขที่ใช้อธิบายลักษณะของประชากร             
       ค.  ข้อมูลที่เป็นตัวเลขเป็นข้อมูลที่แสดงถึงปริมาณ  
       ง.   ประวัติจากระเบียนสะสมเป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ